วันพุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2557

รถรับจ้างประตูสู่พม่า,รถบบรทุกรับจ้างสู่พม่า

นายบรรพต ก่อเกียรติเจริญ ที่ปรึกษาหอการค้าจังหวัดตาก เปิดเผยว่า นับถอยหลังเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในช่วงปลายปี 2558 แต่การพัฒนาอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ยังไม่มีความก้าวหน้า ทั้งโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด และโครงการสร้างสะพานมิตรภาพไทย-พม่า แห่งที่ 2 อีกทั้งการพัฒนาระบบคมนาคมยังไร้ทิศทาง จนอาจทำให้สูญเสียโอกาสในการพัฒนาระบบ โลจิสติกส์ไป
ขณะที่เส้นทางเมียวดี-กอกาเรก ที่จะเชื่อมต่อจากย่างกุ้งเข้ามายังอำเภอแม่สอด จังหวัดตากได้ด้าเนินการก่อสร้างใกล้เสร็จแล้ว ซึ่งจะมาเชื่อมต่อกับชายแดนไทยผ่านสะพานมิตรภาพไทย-พม่าแห่งที่ 2 แต่การรองรับของฝั่งไทยอยู่ระหว่างการปรับปรุงถนนแม่สอด-ตากเป็น 4 เลนยังไม่เสร็จสมบูรณ์ หนุนเอกชนทำอุโมงค์แม่สอด-ตาก  ทางหอการค้ามองว่าทุกอย่างควรเดินหน้าให้เร็วที่สุด แม้กระทั่งโครงการที่ศึกษากันมาหลายปีอย่างโครงการสร้างอุโมงค์แม่สอด-ตาก หากภาครัฐมองว่า ใช้งบประมาณจำนวนมหาศาล ก็ต้องบริหารจัดการให้ภาคเอกชนเข้ามาด้าเนินการแทน ไม่เช่นนั้น ระบบโลจิสติกส์ทั้งหมดอาจจะต้องสร้างฐานเข้าไปอยู่ในจังหวัดเมียวดี ประเทศพม่าแทน ซึ่งมีการตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษเมียวดีมาแล้วกว่า 5 ปี และล่าสุด ได้ตั้งเขตนิคมอุตสาหกรรมเมียวดีด้วย ซึ่งหากว่าภาครัฐของไทยยังเมินเฉยต่อ การเดินหน้าพัฒนาโครงการเหล่านี้ คาดว่า ในอนาคตแทนที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก จะเป็นศูนย์กลางกลางรอบด้าน ก็จะกลายเป็น ทางผ่านเท่านั้น
“ไทยมีทุกอย่างในมือ แต่ใช้ไม่เป็นหลายโครงการที่ต้องด้าเนินการ ก็ถูกรื้อศึกษาซ้ำไปมาไม่รู้กี่รอบ ตอนนี้ทุกฝ่ายต้องระดมสมองกัน เมื่อภาครัฐไม่ทำ ควรจะเปิดทางให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุน แต่จะมีการการันตี ความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนด้วย ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มทุนไทย หรือกลุ่มทุนต่างประเทศ งบประมาณหลักหมื่นล้านบาท ที่จะต้องใช้ ลงทุนในโครงการนี้ คงไม่ใช่เรื่องใหญ่ เพราะเส้นทางนี้ไม่ได้วิ่งแค่แม่สอด-ตากเท่านั้น แต่เป็นเส้นทางที่เชื่อมโยงระหว่างอาเซียนเข้ายุโรปได้ในอนาคต เป็นเส้นทางเชื่อมโยง ระดับโลก ไม่ใช่เส้นทางเชื่อมภายในจังหวัด อีกทั้ง จะเป็นถนนเศรษฐกิจที่ท้าการค้าระหว่างไทยกับพม่าที่ใกล้ที่สุด นั่นหมายถึง มูลค่าการค้าระหว่างไทย-พม่าคงไม่ได้หยุด อยู่ที่ปีละหมื่นล้านบาท แต่มีแนวโน้มที่จะพุ่งเกินแสนล้านบาทในอนาคตอันใกล้นี้” นายบรรพต กล่าว
นายสุริยะ ประสาทบัณฑิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก กล่าวว่า โครงการเจาะอุโมงค์ เส้นทางแม่สอด-ตาก ได้รับการเห็นชอบ จากมติคณะรัฐมนตรีสัญจรที่จังหวัดอุตรดิตถ์เมื่อปี 2556 และอยู่ในการดูแลของสภาพัฒน์ และกรมทางหลวง ถือเป็นโครงการขนาดใหญ่ ที่ต้องใช้งบประมาณลงทุนร่วม 30,000 ล้านบาท โดยการน้ำเสนอผลการศึกษานั้น เป็นอุโมงค์สำหรับรถไฟ ที่จะเข้าไปเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟที่จังหวัดพิษณุโลก แต่ต่อมาทางจังหวัดตากพิจารณาว่า น่าจะก่อสร้างเป็นเส้นทางคู่ขนานที่ใช้งานได้ทั้งรถยนต์ และรถไฟควบคู่กัน โดยสภาพของเส้นทางจะเป็นทางตรงที่ลอดอุโมงค์ และบางจุดก็เป็นพื้นที่ถนน รวมถึงบางจุดก็ข้ามสะพาน โดยจะคล้ายๆ กับถนนจากคุณหมิงมายังสิบสองปันนาของจีน ชี้เส้นทางทะลุดันการค้าคึกคัก  ในการสร้างอุโมงค์จะช่วยย่นระยะทาง ในสภาพที่เป็นภูเขาชันของเส้นทางแม่สอดตากได้ โดยอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาด้าเนินการ ในการก่อสร้างให้ง่ายขึ้น โดยจะส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่อระบบบโลจิสติกส์ โดยเฉพาะระหว่างไทยกับพม่าไปสู่ประเทศที่ 3 เชื่อมถนนสายเอเชีย 1 อีกทั้งขณะนี้เส้นทางเชื่อมต่อจากจังหวัดเมียวดี-กอกาเรก ที่รัฐบาลไทย สนับสนุนเงินก่อสร้างก็จะสร้างเสร็จแล้ว ซึ่งจะเป็นเส้นทางที่เชื่อมระหว่างไทยกับย่างกุ้งของพม่าใกล้ที่สุด และเชื่อว่าหากระบบคมนาคมเส้นนี้มีความสะดวกขึ้น จะท้าให้บรรยากาศการค้าชายแดนคึกคัก โดยคาดว่าแนวโน้มตัวเลขการค้าชายแดนผ่านด่านแม่สอด-เมียวดีน่าจะมีมูลค่า ไม่ต่ำกว่าปีละ 100,000 ล้านบาท
ขณะนี้โครงการสร้างอุโมงค์ผ่านขึ้นตอนการศึกษาไปแล้ว ติดขัดเฉพาะงบประมาณด้าเนินการก่อสร้างที่ต้องเป็นไป ตามขั้นตอนของทางภาครัฐ แต่หากว่า จะมีภาคเอกชนทั้งไทย และต่างประเทศให้ความสนใจเข้าลงทุนในโครงการนี้ก็น่าจะทำให้มีโอกาสจะเกิดเป็นรูปธรรมได้เร็วขึ้น โดยอาจจะเป็นในรูปแบบของการสัมปทานเส้นทาง หรือการลงทุนร่วมกับภาครัฐก็มีความเป็นไปได้ เพราะในเชิงผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจะส่งผลดีมากกว่าผลเสีย และโดยเฉพาะเป็นการเตรียมความพร้อมในการเป็นประตูหน้าด่านเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านในกรอบของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนด้วย
นายวีระชัย ระก้าทอง ผู้อำนวยการ แขวงการทางตากที่ 2 (แม่สอด) กรมทางหลวง กล่าวว่า การเจาะอุโมงค์แม่สอด-ตากไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ต้องมีการบูรณาการทุกภาคฝ่าย จากผลการศึกษาของทางจังหวัดตาก แต่เดิม มีการออกแบบเป็นอุโมงค์รถไฟที่มีขนาดกว้าง 10-15 เมตร ต่อมาอยากให้มีการก่อสร้าง ควบคู่ระหว่างเส้นทางถนน และรถไฟควบคู่กัน ที่มีขนาดอุโมงค์กว้าง 30-40 เมตร โดยไม่ใช่เป็นเส้นทางอุโมงค์ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง แต่จะมีการพิจารณาเจาะอุโมงค์ หรือสร้างสะพานตามสภาพพื้นที่ตามความเหมาะสม หากเกิดเป็นรูปธรรมได้จะก่อให้เกิดประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจหลายมิติ เพียงแต่โครงการนี้ใช้งบประมาณในการลงทุนจ้านวนมหาศาล อาจจะเป็นข้อจ้ากัดที่ท้าให้หลายฝ่ายต้องทำการศึกษาอย่างรอบคอบ
ก่อนหน้านี้ทั้งไทยและพม่า เห็นชอบ ร่วมกันในการพัฒนาเมืองคู่แฝดแม่สอด- เมียวดี โดยเชื่อว่าจะมีส่วนช่วยกระตุ้นมูลค่าการค้าชายแดนระหว่างไทยกับพม่าให้เพิ่มขึ้นอีกมาก ขณะนี้นักลงทุนตื่นตัวมากขึ้นในการเข้าไปซื้อที่ดินเพื่อลงทุนท้าธุรกิจ และมีการขยายตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ โรงแรม ที่พักอาศัยเพิ่มอย่างรวดเร็ว
หอการค้า จ.ตาก ประเมินว่าว่า หลังจากก้าวสู่การเป็นประชาคม AEC ในปี 2558 มูลค่าการค้าชายแดนบริเวณ ด่านการค้าชายแดนแม่สอด-เมียวดีจะเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 50,000 ล้านบาทต่อปี สินค้าที่มีโอกาสขยายการส่งออกผ่านด่านชายแดนดังกล่าว จะเป็นกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคทุกประเภท โดยชาวพม่าถือว่าสินค้าไทยเป็นสินค้ามีคุณภาพ


อ่านต่อ: http://www.thai-aec.com/923#ixzz3KoItNZH8

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น